ผลสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภคจังหวัดนครราชสีมา โตรมาสที่ 2 ปี 2567 (เดือน เมษายน-มิถุนายน 2567)

ผลสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภคจังหวัดนครราชสีมา โตรมาสที่ 2 ปี 2567 (เดือน เมษายน-มิถุนายน 2567)

โดย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมา โดย หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

-ความเชื่อมั่นในด้านการซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยใหม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.00% ไม่แน่ใจที่จะซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยใหม่ ค่าดัชนีความกระจายมีค่า 60.80 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นด้านการซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยใหม่ในระดับปานกลางค่อนข้างดี
กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่ายังไม่ควรซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในช่วงเวลานี้ คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจและรายได้ รวมถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการซื้อที่อยู่อาศัย
รูปแบบที่อยู่อาศัยที่สนใจซื้อมากที่สุดคือ บ้านเดี่ยว
ราคาบ้านอยู่ระหว่าง 3-4 ล้านบาท
การซื้อที่อยู่อาศัยจะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน

-ความเชื่อมั่นในด้านการซื้อรถยนต์ใหม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 42.80% ไม่แน่ใจที่จะรถยนต์ใหม่ ค่าดัชนีความกระจายมีค่า 61.20 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นด้านการซื้อรถยนต์ใหม่ที่ค่อนข้างดี
มีกลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่ายังไม่ควรซื้อรถยนต์ใหม่ในช่วงเวลานี้ เพราะ ปัญหาด้านรายได้ ราคาน้ำมันแพง และเศรษฐกิจยังไม่ดี
รูปแบบรถยนต์ที่สนใจซื้อมากที่สุดคือ รถยนต์ขนาดเล็ก รองลงมาคือรถยนต์ไฟฟ้า
ราคารถยนต์อยู่ระหว่าง 600,000 – 1,000,000 บาท
การซื้อรถยนต์จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน


-ความเชื่อมั่นในด้านการเดินทางท่องเที่ยว
สภาวการณ์ปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 50.50% เห็นว่าเหมาะสมที่จะเดินทางท่องเที่ยว มีค่าดัชนีความกระจาย 74.75 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นด้านการเดินทางท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี
อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มตัวอย่างบางส่วนให้ความเห็นว่ายังไม่เหมาะสมที่จะท่องเที่ยวในช่วงเวลานี้เพราะไม่มีเวลา และมีภาระค่าจ่ายอื่นๆ
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด ในประเทศไทย
โดยประมาณค่าใช้จ่ายระหว่าง 10,000 – 20,000 บาท


-ความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนทำธรุกิจ SMEs
กลุ่มตัวอย่างผู้มีงานทำส่วนใหญ่ 65.00% เห็นว่าไม่แน่ใจที่จะลงทุนทำธรุกิจ SMEs ดัชนีความกระจาย มีค่า 52.30 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นด้านการลงทุนทำธรุกิจ SMEsที่ค่อนข้างดี
อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่ายังไม่เหมาะสมที่จะลงทุนทำ ธรุกิจ SMEsในช่วงเวลานี้เพราะปัญหาด้านเศรษฐกิจ และขาดแคลนเงินทุน
ธุรกิจที่ได้รับความสนใจลงทุนมากที่สุดคือ ธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าออนไลน์
ประมาณค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดยส่วนใหญ่ 100,000 – 200,000 บาท


-ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทางด้านสังคม
ด้านความสุขในการดำเนินชีวิตกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีความสุขในการดำเนินชีวิต โดยพิจารณาจากดัชนีความกระจาย มีค่า 74.30
ส่วนด้านภาวะค่าครองชีพ มีกลุ่มตัวอย่างบางส่วนไม่ความพอใจกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากดัชนีความกระจาย มีค่า 53.10
ด้านปัญหายาเสพติด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจุบันมีการควบคุมปัญหายาเสพติดในสังคมได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากดัชนีความกระจาย มีค่า 73.80
ด้านปัญหาอาชญากรรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจุบันมีการควบคุมปัญหาอาชญากรรมได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากดัชนีความกระจาย มีค่า 74.35


-เปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค 4 ไตรมาส จากกราฟแสดงการเปรียบเทียบพบว่า
ดัชนีความกระจายด้านการซื้อที่อยู่อาศัย ค่าดัชนีปรับตัวลดลง เนื่องจากหลายปัจจัยเช่น การพิจารณากู้ยืมของธนาคารเนื่องจากปัญหาหนี้เสียในระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยสูงขึ้น รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีความกระจายด้านการซื้อรถยนต์ใหม่ ค่าดัชนีปรับตัวลดลง เนื่องจากหลายปัจจัยเช่น ราคาน้ำมันจะมีความผันผวน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงการปฏิเสธสินเอรถยนต์ของสถาบันการเงินที่ค่อนข่างสูง แต่มีปัจจัยเชิงบวกมาจากราคารถไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง
ดัชนีความกระจายทั้ง 2 ด้านแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในการซื้อสินทรัพย์ที่มีภาระผูกพันของผู้บริโภคลดลง อาจสะท้อนถึงความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภคในพื้นที่

ส่วนดัชนีความกระจายด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย ปัจจัยสำคัญมาจากช่วงเดือน เมษายน – มิถุนายน มีวันหยุดและเทศกาลสงกรานต์ทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ด้านการลงทุนในธุรกิจ SMEs ค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง ซึ่งมีผลมาจากปัญหากำลังซื้อที่ลดลง ต้นทุนการประกอบการที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทมีความผันผวน รวมทั้งสินค้าค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่เหมาะกับการลงทุนเพิ่มเติม


-เปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทางด้านเศรษฐกิจ
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2567 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในทุกๆด้านใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้านเศรษฐกิจในภาพรวมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ปัจจัยสำคัญมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภคซึ่งพ้นช่วงนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล ทำให้ราคาสูงขึ้น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงเป็น่วงเวลาเปิดภาคการศึกษา ทำให้ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจใน6เดือนข้างหน้าจะมีการปรับตัวที่ดีขึ้น ซึ่งอาจมีผลจากนโยบายของรัฐบาด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีผลเป็นรูปธรรมเช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ


-เปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นด้านภาวการณ์ทางสังคม
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นในด้านภาวการณ์ทางสังคมในไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2567 พบว่าทั้งความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต ค่าครองชีพ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับปัญหาด้านยาเสพติดและด้านอาชญากรรม มีแนวโน้มใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นด้านค่าครองชีพมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการใช้จ่ายค่าดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับปัญหาด้านยาเสพติดและด้านอาชญากรรม มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการเช่น การเพิ่มมาตรการตรวจสถานบันเทิง การกรวดขันวินัยจราจร รวมถึงนโยบายการกวาดล้างยาเสพติดของรัฐบาล


-การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี พ.ศ. 2565 - 2567
จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่าในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2567แต่ละเดือนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครราชสีมา 1 มีมูลค่าที่ใกล้เคียงกัน และมีแนวโน้มเพิ่มเล็กน้อย
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2565 – 2567 พบว่าปี พ.ศ. 2567 มีมูลค่าการจัดเก็บภาษีที่สูงกว่า ปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 ในช่วงเวลาเดียวกัน
แสดงให้เห็นว่าในปีช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2567 มีการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และราคาสินค้าบางรายการเช่นสินค้ากลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 ทำให้ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลต่อมูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมา โดย หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ หอการค้า(ไตรมาส 2/2567) โดย หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา Official Korat Chamber